Go to Top

FAQ – คำถามเลสิกที่พบบ่อย

ก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจทำเลสิค ผู้สนใจมักตั้งคำถามหลายข้ออันเกิดจากความกังวลต่างๆ นานา ได้แก่ จะมีอันตรายจากการรักษาสายตาด้วยเลเซอร์หรือไม่ จะมีผลข้างเคียงหรือผลอันไม่พึงปรารถนาจากการทำเลสิคหรือไม่ ใช้เวลานานเท่าใดหลังการรักษา การมองเห็นจึงจะกลับเป็นปกติ ดวงตาหลังทำเลสิคบอบบางจนห้ามทำอะไรบ้าง ที่ SUPREME iLASIK คำถามทุกข้อ จะได้รับคำตอบโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาสายตา และทีมงานของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่คุณได้เข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพตาเพื่อการรักษาเรียบร้อยแล้ว

หมวดคำถามเชิงวิชาการ

ไอเลสิค (iLASIK) คืออะไร

iLASIK คือ รูปแบบใหม่ของการทำ LASIK โดยใช้เทคโนโลยีจากอเมริกา สำหรับการแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวัดสภาพความผิดปกติในการรวมแสงของตา, ใช้เลเซอร์เปิดผิวกระจกตา จนกระทั่งปรับแต่งพื้นผิวกระจกตาด้วยลำแสงเลเซอร์ซึ่งปรับเปลี่ยนขนาดลำแสงได้ มีผลการศึกษาวิจัยถึงผลการรักษาสายตาด้วยวิธี iLASIK พบว่า มีโอกาสสูงที่จะมองเห็นได้ชัดเจนเทียบเท่าตาปกติ อีกทั้งมีโอกาสเพิ่มศักยภาพสูงสุดในการมองเห็นดีกว่ามาก

ไอเลสิค (iLASIK) & เลสิค (LASIK) แตกต่างกันอย่างไร

การแก้ไขสายตาด้วยวิธี iLASIK
เป็นมาตรฐานใหม่ของการรักษาสายตาผิดปกติได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียงโดยใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอนในการรักษา แทนการใช้ใบมีด เนื่องจากการใช้ใบมีดที่คม ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างของผิวกระจกตา แต่การใช้เลเซอร์จะมีความนุ่มนวลกว่า โดยเลเซอร์จะไปทำให้เกิดฟองอากาศค่อยๆ แยกชั้นกระจกตา ส่งผลต่อโครงสร้างกระจกตาน้อยกว่าใบมีด ทำให้ชั้นกระจกตามีความสม่ำเสมอ ผิวเรียบ และมีความปลอดภัยมากกว่า จึงทำให้การมองเห็นเป็นปกติได้เร็ว การระคายเคืองตาน้อย

การแก้ไขสายตาด้วยวิธี LASIK (Laser In-situ Keratomileusis)
เป็นวิธีการรักษาสายตาที่ผิดปกติได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง โดยใช้เครื่องมือที่ประกอบด้วยใบมีด Microkeratome ในการแยกชั้นกระจกตา แล้วใช้ Excimer Laser ขัดเนื้อกระจกตาชั้นกลาง เพื่อเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยรวม แล้วจึงปิดผิวกระจกตาเข้าที่เดิม การแก้ไขสายตาด้วยวิธี LASIK เป็นทางเลือกที่ดีของคนไข้จำนวนมาก และให้ผลการรักษาที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การแยกชั้นกระจกตาอาจมีความเสี่ยงในการเกิดกระจกตาผิดรูป และเกิดอาการตาแห้งได้

การใช้แสงเลเซอร์รักษาดวงตามีมานานแค่ไหนแล้ว

  • การรักษาด้วยการผ่าตัดดวงตานั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963
  • การใช้แสงเลเซอร์รักษาสายตา (Excimer Laser) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1989 โดยใช้แสงเลเซอร์ปรับแต่งรูปร่างกระจกตา วิธีนี้เรียกว่า Photorefractive Keratectomy (PRK)
  • ต่อมาในปี 1991 ได้มีการรวม Excimer Laser เข้ากับ PRK โดยการแยกชั้นกระจกตา หรือเปิดผิวกระจกตาและใช้ Excimer Laser ในการปรับแต่งกระจกตา ได้ละเอียดมากขึ้นและส่งผลให้ทำให้การรักษาดีขึ้น การรักษาแบบนี้เรียกว่า “เลสิค” (LASIK) ซึ่งทางจักษุแพทย์ของศูนย์ SUPREME iLASIK ได้ทำการรักษาสายตาแบบเลสิค (LASIK) มาตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งเป็นปีแรกที่ได้นำเลสิค (LASIK) เข้ามาในประเทศไทย
  • ตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา มีการนำเลเซอร์รูปแบบใหม่คือ IntraLase มาใช้เป็นทางเลือกในการเปิดผิวกระจกตาเป็นรายแรก การรักษาแบบนี้เรียกว่า “ไอเลสิค” (iLASIK) นอกเหนือจากการใช้ใบมีดเปิดผิวกระจกตา จนถึงปัจจุบันนี้ IntraLase ใช้เปิดกระจกตามากกว่า 4 ล้านนัยน์ตา และเทคโนโลยี iLASIK ผ่านการแก้ไขสายตามามากกว่า 15 ล้านนัยน์ตาทั่วโลก

มีอาการเจ็บปวดระหว่างการรักษาหรือไม่ ฯลฯ

ไม่เจ็บปวด เพราะก่อนการรักษาจะมีการหยอดยาชา ซึ่งอาจจะรู้สึกตึงตาเมื่อเปิดตาให้กว้าง รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ทั้งกระบวนการจะลดความบอบช้ำได้มาก

หมวดคำถามเรื่อง iLASIK ที่ SUPREME iLASIK

SUPREME iLASIK ใช้เทคโนโลยีใดในการแก้ไขสายตาผิดปกติ

SUPREME iLASIK เป็นศูนย์แก้ไขสายตาที่ได้นำเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน 3 ขั้นตอน เพื่อทำการรักษาผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และ สายตาเอียง อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีทั้ง 3 มีองค์ประกอบ ดังนี้

1) เทคโนโลยี “WaveScan” เพื่อตรวจวิเคราะห์ความเพี้ยนของพื้นผิวกระจกตา คือ

  1. กระจายจุดวิเคราะห์ถึง 240 จุด บนเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มิลลิเมตร ทำให้ได้ผลลัพธ์ละเอียดครอบคลุมตลอดกระจกตา
  2. สามารถเก็บลายม่านตา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 24 ส่วน เพื่อใช้ยืนยันตัวผู้ต้องการแก้ไขสายตา รวมทั้งจับการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตา ทำให้การแก้ไขกระจกตาถูกกระทำบนตำแหน่งที่ถูกต้อง

2) เทคโนโลยีเปิดผิวกระจกตา โดยใช้ “IFS FemtoSecond Laser”

  1. สามารถขึ้นรูปขอบที่มีความแข็งแรงเพิ่ม 2-3 เท่าตัว
  2. สามารถเปิดผิวกระจกตาได้ในเวลาไม่ถึง หรือสูงสุดเพียง 10 วินาที ซึ่งสามารถขจัดปัญหาอันเกิดจากการเลื่อนหรือการกรอกลูกนัยน์ตา
  3. ให้ความราบเรียบสูง รวมทั้งความหนาคงที่ ตั้งศูนย์กลางได้เที่ยงตรง
  4. สามารถเปิดกระจกตาในรูปแบบวงรี เพื่อครอบคลุมเต็มหน้ากระจกตาเป็นผลให้เลเซอร์ทำงานได้เต็มพื้นที่
  5. กระจกตาจะคืนตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งลดปัญหาตาแห้ง

3) เทคโนโลยี “Excimer LASER VISX STAR S4 IR” เป็นเทคโนโลยีเลเซอร์แก้ไขสายตา

  1. สามารถแบ่งลำแสงเลเซอร์ออกเป็น 7 ส่วน จากนั้นหมุนลำแสง ทั้ง 7 ด้วยความเร็ว ยังผลให้พลังงานเลเซอร์มีพลังงานสม่ำเสมอ
  2. สามารถปรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำแสงตั้งแต่ 0.65-6.50 มิลลิเมตร ตามขนาดเนินกระจกตาที่เพี้ยนไปยังผลให้สามารถปรับแต่งผิวกระจกตาได้เต็มพื้นที่
  3. รองรับการยืนยันข้อมูลวิเคราะห์ความเพี้ยนของพื้นผิวกระจกตา ด้วยข้อมูลลายม่านตา 24 ส่วน จากเครื่อง WaveScan
  4. จับการหมุนของลูกนัยน์ตา เพื่อที่แก้ไขกระจกตาให้ถูกต้องตรงตามตำแหน่งที่ต้องการแก้ไข

หมายเหตุ : การออกแบบข้อ 3.1-3.3 ทำให้ลดอัตราเนื้อเยื่อกระจกตาที่ต้องขัดลง

การรักษาสายตาด้วยเลเซอร์มีปัจจัยเสี่ยงหรือไม่

จากรูปแบบศัลยกรรมต่างๆทั้งหมด มีความเป็นไปได้ของผลข้างเคียงจากการทำศัลยกรรม อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงซึ่งกระทบต่อสายตาอยู่ในอัตราต่ำ และ iLASIK เป็นหนึ่งในขบวนการซึ่งปลอดภัย ความเสี่ยงซึ่งมักประสบสูงสุดจากการทำศัลยกรรมเลเซอร์ตาคือ การติดเชื้อ จากข้อมูลวิจัยคลินิกของ LASIK โดยศึกษาจากคนไข้ 60,000 ราย มีรายงานเพียง 2 รายถึงสภาวะติดเชื้อ ซึ่งทั้งคู่สามารถรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะพร้อมผลลัพธ์ที่ดี

วิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดี มีข้อแนะนำให้หลีกเลี่ยงนัยน์ตาสัมผัสกับน้ำประมาณ 2 สัปดาห์ การทำเลสิคผลข้างเคียงโดยมากอยู่ในอัตราต่ำ และไม่สร้างผลกระทบต่อการมองเห็นรวมถึงการแก้ไขสายตาที่ต่ำกว่า หรือสูงกว่าค่าสายตาจริง ทั้งการมัวในการมองเห็น (มีขอบเงา, แสงสะท้อน, แสงแตกกระจาย, ภาพซ้อน) ซึ่งรายงานปัญหามีต่ำกว่า 0.5 %

มีขั้นตอนอะไรบ้างในการทำ iLASIK

การแก้ไขสายตาด้วย iLASIK นี้จะใช้เวลาไม่นาน โดยจะเป็นการปรับความโค้งที่ผิดรูปของผิวกระจกตา (ความโค้งของผิวกระจกที่ผิดรูปนี้เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง) โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ตรวจประเมินสภาพตาของผู้มารับบริการว่าเหมาะสมที่จะสามารถแก้ไขสายตาด้วยเทคโนโลยี iLASIK ได้หรือไม่โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้มารับบริการจะได้รับการตรวจวิเคราะห์พื้นผิวกระจกตา (3D mapping) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

  • จักษุแพทย์จะนัดหมายให้เข้ารับแก้ไขปัญหาสายตาของท่าน โดยผู้มารับบริการจะได้รับการหยอดยาชา และยาปฏิชีวนะ เพื่อระงับความรู้สึกที่ดวงตา

  • จักษุแพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาสายตาโดยปรับความโค้งของผิวกระจกตา ให้สอดคล้องกับแผนการรักษาที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีจักษุแพทย์เป็นผู้ควบคุมการทำงาน

  • เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการแก้ไขสายตา ผู้มารับบริการจะได้รับแนะนำให้สวมที่ครอบตา หรือแว่นตากันแดด พร้อมคำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวหลังการแก้ไขสายตาจากเจ้าหน้าที่
  • จักษุแพทย์จะนัดตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ได้แก่ หลังการแก้ไขสายตา 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 3เดือน, และ 1 ปี (ทั้งนี้หากผู้เข้ารับการแก้ไขสายตามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น สามารถนัดหมายเพื่อปรึกษากับจักษุแพทย์ได้ทันที)

ใช้เวลานานเท่าใดในการฟื้นตัว และคนไข้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนภายในกี่สัปดาห์

การฟื้นตัวแบ่งเป็น 2 ระดับ

  • ระดับแรก คือ การมองเห็นซึ่งคนไข้จะมองเห็นได้ทันที 80-90 เปอร์เซ็นต์ หลังจบกระบวนการรักษาสายตา
  • ระดับที่สอง คือ การปรับคืนตัวของกระจกตา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับสายตาเดิมก่อนการเข้ารับการรักษา เช่น เดิมค่าสายตาน้อยกว่า 5 diopters ก็จะคืนตัวสุดใน 3-4 วัน หากเกิน 5 diopters จะคืนตัวสูงสุดใน 3 สัปดาห์ ทั้งนี้สายตาจะปรับร่วมไปกับการคืนตัวจนสมบูรณ์ขึ้น เป็นสายตาใหม่หลังการรักษา

ชัดเจนภายในกี่สัปดาห์

การปฏิบัติตัวหลังทำ iLASIK หลังตรวจครบ 1 สัปดาห์ – 1 เดือนแรก

  • งดการว่ายน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • งดการดำน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
  • ควรมาตรวจตามแพทย์นัด
  • หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรติดต่อกลับมาที่ SUPREME iLASIK ทันที

การปฏิบัติตัวหลังทำ iLASIK หลังตรวจครบ 1 เดือน

  • สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือเล่นกีฬาได้ตามปกติ
  • หากมีอาการตาแห้ง ควรหยอดน้ำตาเทียมตามคำแนะนำของแพทย์
  • ควรมาตรวจตามที่แพทย์นัดหมาย
  • หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรติดต่อกลับมาที่ SUPREME iLASIK ทันที