Go to Top

การทำเลสิค คืออะไร?

− การทำเลสิค คืออะไร?

การทำเลสิค คืออะไร?

เลสิก : LASIK ย่อมาจาก Laser in Situ Keratomileusis เป็นวิวัฒนาการในการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาที่ผิดปกติ

เลสิกเป็นวิธีการรักษาความผิดปกติของสายตาได้ทั้งสั้น ยาวและเอียง โดยการเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาด้วยเลเซอร์ ซึ่งใช้เวลาไม่นาน การรักษาเริ่มต้นโดยการแยกชั้นกระจกตาด้านบน (Cornea) เปิดออก จากนั้นใช้เลเซอร์สลายกระจกตาไปทีละชั้นให้ได้รูปทรงความโค้งเว้าที่เหมาะสม จากนั้นปิดกระจกตาที่เปิดไว้ลงดังเดิม ไม่มีการเย็บแผลหรือฉีดยาชา กระจกตาจะสมานคืนสู่ปกติได้อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ซึ่งรวดเร็วและมีผลข้างเคียงน้อยมากๆ

 

การรักษาด้วยวิธี LASIK โดยการแยกชั้นกระจกตา มี 2 วิธี ดังนี้

1. การแก้ไขสายตาด้วยโปรแกรมเลสิค (LASIK) : การใช้ใบมีด (Microkeratome) แยกชั้นกระจกตาและใช้เลเซอร์ (Excimer Laser)ในการแก้ไขสายตา

2. การแก้ไขสายตาด้วยโปรแกรมไอเลสิค (iLASIK) : การใช้เลเซอร์ (IFS FemtoSecond Laser) แยกชั้นกระจกตาและใช้เลเซอร์ (Excimer Laser)ในการแก้ไขสายตา

เพื่อให้การทำเลสิคเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เข้ารับการรักษาจึงควรมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
  2. สายตาคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 50 หรือ 0.5 Diopter อย่างน้อย 1 ปี
  3. ไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตร
  4. ไม่มีแผลเป็นขนาดใหญ่ที่กระจกตา
  5. ไม่มีโรคของกระจกตาและโรคทางตาที่อาจจะมีผลต่อการรักษา เช่น ตาแห้งอย่างรุนแรง กระจกตาโป่ง โรคต้อหิน ต้อกระจก สายตาขี้เกียจ จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
  6. ไม่มีโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรค SLE โรคเบาหวาน เป็นต้น

 

ข้อดีของการทำเลสิค (LASIK)

  1. แก้ไขสายตาผิดปกติได้อย่างครอบคลุมทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง
  2. มองเห็นได้ทันทีหลังการรักษา
  3. ไม่มีการเย็บแผล เนื้อกระจกตาคืนตัวเร็ว
  4. เป็นการรักษาสายตาแบบถาวร 
  5. ไม่มีความเจ็บปวดในการรักษา
  6. ไม่ต้องฉีดยาชา ใช้เพียงยาชาหยอดตา
  7. หลังการรักษา สามารถกลับบ้านได้เลยโดยไม่ต้องพักฟื้น